Loading...

ระบบรวบรวมน้ำเสีย

  • วันที่ 2018-09-09
  • View 2144

ระบบระบายน้ำและระบบรวบรวมน้ำเสีย

ระบบระบายน้ำและระบบรวบรวมน้ำเสียในโครงการนี้ใช้ระบบรวม (Combined System) คือ ท่อจะทำหน้าที่ทั้งระบบน้ำฝนและน้ำเสีย และจะมีบ่อดักน้ำเสียเพื่อดักน้ำเสียก่อนที่จะระบายลงทางน้ำธรรมชาติ แล้วส่งไปตามท่อรวบรวมน้ำเสียเข้าสู่ระบบบำบัด ที่โรงงานปรับปรุงคุณภาพน้ำ ประชานิเวศน์ ถนนวัดบัวขวัญ

องค์ประกอบของระบบระบายน้ำและระบบรวบรวมน้ำเสียในโครงการนี้ ประกอบด้วย

ระบบรวบรวมน้ำ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

         ท่อรวบรวมน้ำ ถนนสายสามัคคี ประกอบด้วย

1.1.1.1 ท่อระบายน้ำ คศล. 0.30 ม. ความยาวประมาณ   594 ม.

1.1.1.2 ท่อระบายน้ำ คศล. 0.60 ม. ความยาวประมาณ 242 ม.

1.1.1.3 ท่อระบายน้ำ คศล. 0.80 ม. ความยาวประมาณ 2,461 ม.

1.1.1.4 ท่อระบายน้ำ คศล. 1.00 ม. ความยาวประมาณ   1,106 ม.

1.1.1.5 ท่อระบายน้ำ คศล. 1.20 ม. ความยาวประมาณ   11 ม.

1.1.1.6 ท่อระบายน้ำ คศล.150×1.50 ม. ความยาวประมาณ   11 ม.

1.1.1.7 ท่อระบายน้ำ คศล. 1.80×1.80 ม. ความยาวประมาณ   48 ม.

ท่อระบายน้ำ ถนนวัดบัวขวัญ ประกอบด้วย

1.1.2.1 ท่อระบายน้ำ คศล. 0.60 ม. ความยาวประมาณ   379 ม.

1.1.2.2 ท่อระบายน้ำ คศล. 0.80 ม. ความยาวประมาณ   336 ม.

1.1.2.3 ท่อระบายน้ำ คศล. 1.00 ม. ความยาวประมาณ   1,135 ม.

1.1.2.4 ท่อระบายน้ำ คศล. 1.20 ม. ความยาวประมาณ   280 ม.

ท่อระบายน้ำซอยบ่อปลา

1.1.3.1 ท่อระบายน้ำ คศล. 1.80×1.80 ม. ความยาวประมาณ 213 ม.

         ท่อระบายน้ำ ถนนประชานิเวศน์ ซอย 2

1.1.4.1 ท่อระบายน้ำ คศล. 1.50×1.00 ม. ความยาวประมาณ 768 ม.

2 บ่อพักน้ำ (Manhole)

3 อาคารทิ้งน้ำ (Outfall)

1.3.1 อาคารทิ้งน้ำสามัคคี-คลองส่วย

หลักเกณฑ์การวางผังระบบรวบรวมน้ำเสีย

(1)   บริเวณที่มีท่อระบายน้ำเดิมอยู่ ตามถนนประชาราษฎร์ สาย 4 ถนนกรุงเทพฯ นนทบุรี ท่อระบายน้ำเหล่านี้จะถูกนำมาใช้ประโยชน์เป็นระบายน้ำรวมมากที่สุด

(2)   การพัฒนาระบบรวบรวมน้ำเสียจะดำเนินการให้สอดคล้องกับระบบการระบายน้ำฝน บริเวณใดที่จะต้องมีการพัฒนาระบบน้ำใหม่ จะต้องวางท่อรวบรวมน้ำเสียจากปลายท่อระบายน้ำฝน ซึ่งเป็นท่อระบายน้ำรวม โดยดักน้ำเสียก่อนจะทิ้งน้ำลงคูคลอง ทุกจุดระบายน้ำเสียที่สามรถดักได้แล้วจะถูกรวบรวมส่งไปบำบัดที่โรงบำบัดน้ำเสีย

(3)   น้ำฝนที่ไหลปนมากับน้ำเสียในช่วงฤดูฝน จะถูกแยกออกจากน้ำเสียที่บ่ดักน้ำเสีย (Overflow Diversion Structure) เพื่อดักน้ำเสียให้ไหลลงสู่ท่อรวบรวมน้ำเสีย ส่วนน้ำที่เกินจะไหลล้นลงครองตามทิศทางการระบายน้ำฝนเดิม ผังระบบรวบรวมน้ำเสียแสดงในรูปที่ 3-13

(4)   น้ำเสียที่ถูกดักโดยบ่อดักน้ำเสียจากท่อระบายน้ำรวม จะถูกส่งไปตามท่อดักน้ำเสีย ซึ่งมีความลาดชันให้น้ำเสียไหลได้โดยแรงโน้มถ่วง หรือโดยแรงดันจากเครื่องสูบน้ำเสีย เมื่อท่อดักน้ำเสียวางลึกถึงระดับหนึ่ง น้ำเสียจะถูกสูบยกใส่ท่อดักน้ำเสียที่สูงขึ้นโดยเครื่องสูบน้ำเสียและน้ำเสียเหล่านี้จะไม่ถูกสูบฝากไปในท่อระบายน้ำฝนอีก เพื่อทำให้เครื่องสูบน้ำเสียระหว่างทางมีขนาดไม่โตจนเกินไปสำหรับการระบายน้ำเสียทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน

องค์ประกอบของระบบรวบรวมน้ำเสีย

ระบบรวบรวมน้ำเสียมีปริมาณงานแยกตามองค์ประกอบต่างๆ ที่จะต้องทำการออกแบบได้แก่

(1)ท่อดักน้ำเสีย         มีจำนวน 9 สาย ขนาดท่อตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.40 ม. ถึงท่อ

ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.00 ม. รวมความยาวท่อทั้งหมด 8.99 ม.

(2)บ่อดักน้ำเสีย         มีจำนวน 127 ตัว

รูปแบบของบ่ดักน้ำเสียมี 3 รูปแบบ คือ

แบบที่ 1 มีฝายให้น้ำไหลผ่านด้านเดียว สำหรับบ่ดักน้ำเสียที่

ต้องการความยาวสันฝายน้ำล้นไม่มากนักท่อเข้าเป็นท่อกลม

ส่วนแบบที่ 2 มีฝายให้น้ำไหลผ่านได้ 2 ด้าน สำหรับรับท่อดักน้ำ

เสียที่ต้องการความยาวสันฝายน้ำล้นมาเข้าเป็นท่อกลม

ส่วนแบบที่ 3 มีฝายให้น้ำไหลผ่านได้ 2 ด้าน สำหรับบ่อดักน้ำเสีย

ที่ต้องการความยาวสันฝายน้ำล้นมาก ท่อเข้าจะเป็นท่อเหลี่ยม

(3)สถานีสูบน้ำเสีย   มีจำนวน 3 สถานี มีอัตราสูบตั้งแต่ 346 ถึง 586 ลิตรต่อวินาที

 การทำงานระบบไฟฟ้าของโรงงาน

  1. ระบบควบคุมและรับส่งสัญญาณ

โครงการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย บริเวณพื้นที่เร่งด่วน เทศบาลเมืองนนทบุรี ครอบคลุมพื้นที่ 38.9 ตร.กม. ทำให้ต้องรวบรวมน้ำเสียจากพื้นที่ของโครงการและส่งน้ำเสียไปยังสถานีบำบัดน้ำเสียเป็นระยะทางไกลจนไม่สามารถที่จะปล่อยให้น้ำเสียไหลไปตามท่อที่จัดสร้างขึ้น โดยอาศัยแรงโน้มถ่วง (Gravity Flow) ได้ตลอด จึงต้องจัดสร้างสถานีสูบน้ำเสียเพื่อยกระดับแรงดันน้ำเสียเป็นช่วงๆ ตามความเหมาะสม เพื่อให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้   สถานีสูบน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียจึงต้องจัดให้มีระบบควบคุมที่สามารถทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ และมีส่วนควบคุมที่สามารถควบคุมด้วยมือ (Manual Operate) ในกรณีที่ชุดควบคุมโดยอัตโนมัติเกิดชำรุดบกพร่อง หรือในกรณีทดสอบหรือซ่อมบำรุงสัญญาณต่างๆที่เกิดจากเครื่องตรวจวัดต่างๆในสถานีสูบน้ำเสียจะถูกส่งไปยังศูนย์ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย และสัญญาณต่างๆจากศูนย์ควบคุมระบบน้ำเสียที่สั่งการไปยังสถานีบำบัดน้ำเสียจะส่งผ่านระบบ Intergrated Service of Digital Network ขององค์การโทรศัพท์ ซึ่งมีอยู่เกือบสมบูรณ์อยู่แล้วในพื้นที่โครงการ

ส่วนสัญญาณอื่นๆ ที่ติดต่อระหว่างระบบย่อยต่างๆ สถานีบำบัดน้ำเสียกับศูนย์ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย จะใช้การเดินสายควบคุมและส่งสัญญาณโดยเฉพาะต่างหาก

  1. ระบบไฟฟ้า

โครงการแก้ไขปัญหาน้ำเสียบริเวณพื้นที่เร่งด่วนเทศบาลเมืองนนทบุรี พื้นที่ทำการออกแบบรายละเอียดก่อสร้าง ประกอบด้วยพื้นที่ภายในเขตเทศบาลเมืองนนทบุรี ซึ่งการใช้ไฟฟ้าในส่วนของพื้นที่ดังกล่าว สามารถรับไฟฟ้าแรงต่ำที่จัดจ่ายอยู่ในเขตเทศบาลเมืองนนทบุรีได้โดยตรง สำหรับในพื้นที่รอบนอกในบริเวณที่ไม่สามารถต่อระบบไฟฟ้าแรงต่ำได้โดยตรง จะได้ทำการต่อจากระบบไฟฟ้าแรงสูงที่ผ่านบริเวณที่ตั้งสถานีสูบหรือที่ตั้งระบบบำบัดน้ำเสียผ่านหม้อแปลงจ่ายให้โครงการต่อไป

 

๓. ระบบไฟฟ้าแรงสูง

การออกแบบระบบไฟฟ้าแรงสูงระดับแรงดันสาย 24 KV 3 เฟส 50 Hz ของโครงการ จะได้จัดขึ้นให้มีขึ้นก็ต่อเมื่อ

(1)บริเวณสถานีสูบดังกล่าวไม่มีระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำ ทำให้ต้องต่อระบบแรงสูงจากบริเวณใกล้เคียง เพื่อผ่านหม้อแปลงเป็นระบบไฟฟ้าแรงต่ำต่อไป

(2)บริเวณสถานีสูบดังกล่าวมีระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำ แต่ไม่มีกำลังไฟฟ้าเพียงพอจ่ายให้กับสถานีสูบ จึงจำเป็นต้องต่อระบบไฟฟ้าแรงสูงและติดตั้งหม้อแปลงขึ้นใหม่

การออกแบบระบบไฟฟ้าแรงสูง จะใช้ข้อกำหนดและมาตรฐานทางปฏิบัติของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นเกณฑ์ โดยการปักเสาพาดสายในอากาศ โดยใช้สายไฟจำนวน 3 เส้น ที่แต่ละเส้นเป็นตัวนำอลูมิเนียมเปลือยตัวเกลียวแกนเดี่ยว สายไฟฟ้าแต่ละเส้นต่างถูกจัดยึดบนฉนวนลูกถ้วยแบบก้านตรง (Pin Type Insulator) ที่ยึดติดบนคอนกรีตอัดแรงและคอนกรีตนี้ติดตั้งบนเสาไฟฟ้าแรงสูงที่เป็นคอนกรีตอัดแรขนาดความยาว 12 เมตร และปักลงดินลึก 2 เมตร การใช้ไฟฟ้าแบบเปลือยนี้มีข้อดี คือ ราคาค่าก่อสร้างต่อกิโลเมตรมีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับสายไฟฟ้าชนิดอื่น

๔.  ระบบไฟฟ้าแรงต่ำ

ระบบไฟฟ้าแรงต่ำ 3เฟส 4 สาย 400/230 V. 50 Hz ซึ่งทำการจัดจ่ายให้กับสถานีสูบแต่ละสถานี จะเป็นไปตามข้อกำหนดและมาตรฐานทางปฏิบัติของการไฟฟ้านครหลวงเป็นเกณฑ์การติดตั้งสายไฟฟ้าเมนแรงต่ำ สำหรับจ่ายไฟฟ้าแต่ละสถานีสูบใช้วิธีปักเสาพาดสายเดินในอากาศ โดยจะใช้แรคแรงต่ำจับยึดสายยึดติดไว้ที่เสาไฟฟ้า

การติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า สำหรับสถานีสูบตำแหน่งของการติดตั้งจะทำการติดตั้งบริเวณใกล้เคียงบริเวณสถานีสูบ โดยการติดตั้งทั้งหมดของระบบที่จ่ายไปยังแต่ละสถานีสูบ มีค่าไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์

 

๕. ระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน

ระบบไฟฟ้าฉุกเฉินจะได้ทำการจัดตั้งขึ้น โดยใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลเพื่อจ่ายให้กับระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้ระบบสามารถดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยขนาดกำลังของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะคำนึงถึงความจำเป็นของขนาดของระบบบำบัดน้ำเสียเป็นสำคัญ

๖. อุปกรณ์ระบบไฟฟ้าอื่นๆ

ตัดตอนอัตโนมัติจะใช้ชนิดโมนต์เคสเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Molded Case Circuit Breaker) ทนแรงดันไม่น้อยกว่า 380/220 V. อุปกรณ์การปลดวงจรเป็นชนิดปรับตั้งความร้อนและปรับตั้งแม่เหล็กได้ (Adjustable Thermal and Adjustable Magnetic Type) มีค่ากระแสลัดวงจร (IC) ตัดตอนอัตโนมัติมีค่ากระแสลัดวงจรไม่น้อยกว่า 10 KA ที่แรงดันพิกัด

โหลดเบรกสวิทซ์ เป็นสวิทซ์ที่มีคุณสมบัติเหมือนตัดตอนอัตโนมัติทุกประการ เพียงแต่ไม่มีชุดปลดวงจรอัตโนมัติ (Trip) ในตัว และสามารถปลดวงจรด้วยมือขณะโหลดได้

สวิทซ์นิรภัย (Safety Switch) และสวิทซ์ปลดวงจร (Disconnecting Switch)

ตัวตู้ทำด้วยแผ่นเหล็กที่ผ่านกรรมวิธีป้องกันสนิม พร้อมทั้งเคลื่อบอบสีอย่างดีถ้าติดตั้งภายในอาคาร มีระดับป้องกัน NEMA 1 แต่ถ้าอยู่นอกอาคาร มีระบบป้องกัน NEMA 3R ตัวสวิทซ์จะมีกระเดื่องล็อกอยู่ เมื่อสวิทซ์อยู่ในตำแหน่ง OFF จึงจะเปิดฝาตู้ออกได้

ฟิวส์สำหรับป้องกันระบบไฟฟ้า จะใช้สวิทซ์ HRC ค่ากระแสตัดลัดวงจรไม่น้อยกว่า 100 KA ที่ 380 V พิกัดแรงดันไม่น้อยกว่า 500 V ฟิวส์สำหรับป้องกันระบบควบคุมและป้องกันบนเครื่องวัดเป็นชนิดคาร์ทริดจ์ค่ากระแสตัดลัดวงจรไม่น้อยกว่า 50 KA ที่ 380 V พิกัดแรงดันไม่น้อยกว่า 500 V

คาพาซิเตอร์ จะใช้คาพาซิเตอร์แบงก์แบบอัตโนมัติ (Automatic Capacitor Bank) ใช้กับแรงดันไฟฟ้า 400 V 3 เฟส 50 Hz โดยเป็นแบบไม่ติดไฟ และมีความต้านทานคายประจุขนาดที่เหมาะสมติดอยู่ด้วย สามารถใช้กับอุณหภูมิโดยรอบ 50 Degree C หรือสูงกว่า

ชุดควบคุมคาพาซิเตอร์ (Automatic Power Factor Controller) ชุดควบคุมคาพาซิเตอร์อัตโนมัติ จะสามารถสับและปลดคาพาซิเตอร์ด้วยคอนแทกเตอร์ได้ไม่น้อยกว่า 3 ชุด โดยสามารถรัษาระดับเพาเวอร์แฟกเตอร์ตามที่ตั้งไว้โดยอัตโนมัติและฟิวส์ HRC สำหรับคาพาซิเตอร์ ต้องใช้ขนาดไม่ต่ำกว่า 1.65 เท่าของกระแสคาพาซิเตอร์

คอนแทกเตอร์สำหรับคาพาซิเตอร์จะใช้กับพิกัดแรงดัน 380 V 50 Hz มีแรงดันคอยส์ 220 V หรือ 380 V 50 Hz และพิกัดขนาดคอนแทกเตอร์ ขนดาไม่ต่ำกว่า 1.5 เท่าของกระแสคาพาซิเตอร์

คอนทแรกเตอร์สำหรับเปิด-ปิดไฟแสงสว่างพิกัดขนาดคอนแทกเตอร์ ต้องใช้ขนาดไม่ต่ำกว่า 1.25 เท่าของกระแสโหลด

 

ความปลอดภัยในงานระบบไฟฟ้าของระบบบำบัดน้ำเสีย

ในระบบบำบัดน้ำเสียจะต้องมีระบบไฟฟ้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับงานระบบไฟฟ้านั้น ผู้ที่ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ และมีพื้นฐานในระบบไฟฟ้าพอสมควร ทั้งนี้หากว่าเกิดปัญหาขัดข้องเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าแล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือปฏิบัติงานจะสามารถแก้ไข หรือมีวิธีการในการปฏิบัติงานที่ถูกต้องและปลอดภัย โดยที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานและความเสียหายต่อระบบด้วย

 

ลักษณะของอันตรายจากไฟฟ้าที่มีต่อมนุษย์

1.กระแสไฟฟ้าผ่านร่างกายสู่ดิน
2.ร่างกายต่อเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า
3.กระแสไฟฟ้าลัดวงจรแล้วสัมผัสถูกหรือเกิดความร้อนสูงแล้วไฟไหม้
4.ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความรุนแรงจากการสัมผัสกับไฟฟ้า
5.ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกาย
6.ระยะเวลาที่สัมผัสหรือระยะเวลาที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน
7.แรงดันไฟฟ้า
8.ความต้านทานของร่างกายต่อไฟฟ้า
9.ความถี่ของแรงดันไฟฟ้า
10.เส้นทางหรืออวัยวะภายในร่างกายที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน

ลักษณะต่างๆของไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดอัคคีภัย

1.สายไฟมีขนาดเล็กเกินไป
2.สายไฟเสื่อมสภาพ
3.สายไฟพาดผ่านโลหะแล้วเสียดสีจนชำรุด
4.สะพานไฟใช้ฟิวส์ผิดขนาด
5.อุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุด

ความปลอดภัยที่เกี่ยวกับเครื่องจักรกลในระบบบำบัดน้ำเสีย

   มีข้อปฏิบัติที่ควรปฏิบัติดังนี้

  1. ก่อนเปิดหรือปิดสวิตซ์เดินเครื่องจักรทุกครั้ง ต้องทำการตรวจสอบเครื่องจักรให้แน่ใจว่าเครื่องจักรอยู่ในสภาพที่ดี และปลอดภัย รวมทั้งตรวจสอบโดยรอบว่าไม่มีสิ่งกีดขวางในรัศมีการทำงานของเครื่องจักร หรือมีผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องจักรอยู่ ทั้งให้รวมถึงเครื่องจักรที่ Inter Lock (หมายถึง เครื่องจักรอื่นที่จะเดินตามเครื่องจักรหลังที่มีการเปิดสวิตซ์) ด้วยในกรณีเครื่องจักรที่มีสัญญาณเตือน(Alarm)ก่อนเดินเครื่องจักรหากสัญญาณไม่ดังหรือได้ยินไม่ชัดเจน ให้ดำเนินการแจ้งซ่อมโดยทันที
  2. ห้ามผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเดินเครื่องจักรนั้นเดินเครื่องจักรโดยเด็ดขาด
  3. ผู้ที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลเครื่องจักรจะต้อตรวจสอบเครื่องจักรให้มีเครื่องป้องกันอันตราย (Guard) ป้องกันส่วนที่หมุนหรือเคลื่อนไหวของเครื่องจักรตลอดเวลาที่เครื่องจักรเดิน
  4. หากมีความจำเป็นต้องทำการปรับแต่งเครื่องจักร หรือทำงานกับเครื่องจักรในจุดที่ไม่ใช่ตำแหน่งปกติที่ต้องปฏิบัติงาน ให้หยุดเครื่องจักรและตัดกระแสไฟฟ้าที่จ่ายมายังเครื่องจักร (MAIN SWITCH) ก่อนทุกครั้งและคอยให้เครื่องจักรหยุดนิ่งจนแน่ใจก่อน จึงค่อยเริ่มลงมือปฏิบัติงานนั้นๆ
  5. ห้ามให้มีการปฏิบัติงานใดๆ (ซ่อมแซม/ปรับแต่ง/ทำความสะอาด) กับเครื่องจักรหรือยื่นส่วนใดส่วนหนึ่งเข้าไปใกล้กับเครื่องจักร ขณะที่เครื่องจักรเดิน เว้นแต่จะมีข้อปฏิบัติที่ปลอดภัยและได้รับการอนุมัติในวิธีปฏิบัติงานมาตรฐานแล้วเท่านั้น
  6. ในกรณีการซ่อมแซม/ปรับแต่งหรือการกระทำอื่นใดกับเครื่องจักร ให้ผู้ปฏิบัติงานดำเนินการล็อคสวิตซ์เดินเครื่องจักร หรือแขวนป้ายห้ามเดินเครื่องจักรหรือทั้งสองกรณีด้วยตนเองโดยทั้งนี้ต้องทำการล็อคหรือแขวนป้ายทุกจุดที่สามารถเดินเครื่องจักรได้ หรือให้เป็นไปตามระเบียบหรือมาตรฐานที่กำหนดเกี่ยวกับการล็อคสวิตซ์/การแขวนป้ายห้ามเดินเครื่องจักรที่โรงงานกำหนด
  7. ผู้ที่มีความจำเป็นต้องไปปฏิบัติงานใกล้กับเครื่องจักร ให้ตรวจสอบตำแหน่งการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงาน หรือตรวจสอบระยะที่ปลอดภัยที่กำหนดตามระเบียบหรือมาตรฐานของเครื่องจักรนั้นๆ
  8. ในกรณีที่เกิดความผิดปกติกับเครื่องจักร ให้หยุดเครื่องจักรเพื่อทำการตรวจเช็ค ถ้ามีความจำเป็นต้องตรวจเช็คในลักษณะต้องให้เครื่องจักรทำงาน ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยให้อยู่ในจุดที่ปลอดภัย